ภาษาวิบัติ

“เฮ้ย! มันจะเกินปุยมุ้ยย อยากแขนเป็นฟอ แต่เป็นได้แค่เพื่อน”

ถ้าเราย้อนเวลากลับไปเปิดเพลง “ฉลามน่ะชอบงับคุณ ส่วนผมน่ะชอบคุณงับ” ซักประมาณ 20 ปีที่แล้ว หลายๆ คนตอนนั้น อาจจะไม่เข้าใจ ว่า “เกินปุยมุ้ย” หรือคำว่า “‘งับ” ในประโยคข้างต้นที่กล่าวมา ถึงแม้ว่าอาจจะพอเดา ความหมายพอได้บ้าง แต่กก็คงจะไม่มีใครคุ้นชิน แล้วมีการใช้ศัพท์นี้กันบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน ให้เราเห็นมากนัก

แล้วคุณเคยสงสัยกันไหม? ว่าทำไมเดี๋ยวนี้ต้องใช้คำว่า “งับ” แทนคำว่า “ครับหรือค่ะ” แล้วทำไมคนเดี๋ยวนี้ ต้องใช้คำว่า “งุ้ยยย” เวลาเห็นอะไรน่ารักๆ และที่สำคัญ คำยอดฮิตสุดๆ อย่างในตอนนี้ “เกินปุยมุ้ย” คำพวกนี้มันมาจากไหนกัน วันนี้เราจะมาพูกคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ถึง สัทศาสตร์ (Phonetics) หรือศาสตร์เกี่ยวกับด้านการออกเสียง ที่อยู่เบื้องหลังของคำเหล่านี้

ภาษาวิบัติ

รู้จักสัทศาสตร์ กับเหตุผลที่คนเปลี่ยนวิธีการออกเสียง

ก่อนจะพูดถึงที่มาที่ไปของคำเหล่านี้ เราขอเล่าก่อนว่า ‘สัทศาสตร์’ เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่อง ‘เสียง’ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเสียง คลื่นเสียง การได้ยินเสียงของมนุษย์ (แต่เป็นคนละอย่างกับสัทวิทยา หรือ Phonology ที่ศึกษาระบบและข้อบังคับของเสียงในภาษาต่างๆ)

แม้สัทศาสตร์จะศึกษาเฉพาะเสียงที่เราพูดออกมา ไม่ได้รวมการเขียนหรือการพิมพ์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กันเพราะบางทีเราก็พิมพ์ตามเสียงที่พูด หรือพูดตามคำที่เราพิมพ์บ่อยๆ ดังนั้นคำที่กำลังฮิตบนโลกออนไลน์ก็สามารถมองในมุมสัทศาสตร์หรือการออกเสียงได้เช่นกัน

“ปัจจุบันการศึกษาสัทศาสตร์มันมีการขยายขอบเขตไป เช่น เรามีการศึกษาสัทศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับพวกการสื่อสารดิจิทัล การสื่อสารออนไลน์ บางครั้งเรื่องรูปเขียนกับเสียง มันมีพฤติกรรมที่สะท้อนอะไรบางอย่าง เราก็อาจจะนำมาวิเคราะห์ด้วยบางส่วน” สำหรับคำที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกออนไลน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจิณัฐ

อธิบายว่าคำเหล่านี้มีที่มาจาก 4 เหตุผลหลัก ได้แก่ ข้อจำกัดของอวัยวะที่สื่อสาร เช่น เสียง ร กับ ล ที่ต้องออกเสียงจากบริเวณปุ่มเหงือกเหมือนกัน แต่ ล ลิงจะออกเสียงง่ายกว่า เลยทำให้เราออกเสียง ร เรือไม่ชัดในบางครั้ง หรือการพิมพ์คำว่า ‘จัง’ แทน ‘จุง’ เพราะบนแป้นพิมพ์ สระอุ อยู่ใกล้กับไม้หันอากาศ

เมื่อเราเอื้อมนิ้วไปไม่ถึงหรือกดผิดบ่อยๆ บวกกับคำนั้นตรงกับความรู้สึกที่อยากสื่อสาร ช่วงหลังๆ ก็อาจจะกลายเป็นการพิมพ์ผิดอย่างตั้งใจแทน การเขียนหรือการพิมพ์ตามเสียงที่เราพูด เช่น คำว่า เลา (เรา) ไง (ยังไง) ไร (อะไร) ที่เปลี่ยนไป จากภาษาเขียนมาตรฐานเดิม เพราะเราชินกับการพูดแบบนี้ในชีวิตจริง

การเปลี่ยนเสียงเพื่อให้รู้สึกเหมือนเป็นภาษาเฉพาะกลุ่ม อย่างการใส่ ร เรือ ลงไปให้มีความขี้เล่นเวลาคุยกับเพื่อน เช่น โอเคร (โอเค) แกร (แก,เธอ) หรือสมัยก่อน เราจะเห็นการใส่เสียง ส เสือ เข้าไปให้ฟังดูขบขันเหมือนกำลังเลียนเสียงภาษาอังกฤษ

ข้อจำกัดของการพิมพ์ที่ไม่มีอวัจนภาษา (nonverbal) ไม่ว่าจะเป็นสีหน้า น้ำเสียง ท่าทาง หลายคนเลยปรับคำเพื่อให้สามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกออกไปได้ เช่น การใช้ ‘ค่า’ แทน ‘ค่ะ’ การใช้ ‘คร้าบ’ แทน ‘ครับ’ รวมทั้งอีโมจิต่างๆ เพื่อให้โทนเสียงนั้นไม่ห้วนจนเกินไป

ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : ferengifts.com