ภูมิแพ้

ภูมิแพ้อากาศ หรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หญ้า แมลงสาบ รังแคสัตว์ ควันบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยจาม คัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล และเจ็บคอ

อาการของภูมิแพ้อากาศ
จาม ไอ หรือเจ็บคอ
คันจมูก ปาก หู ตา ผิวหนัง หรือบริเวณอื่น ๆ
คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ ไม่รับรู้กลิ่น
ปวดหัว
ปวดหู หูอื้อ
น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม หรือขอบตาคล้ำ
อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกไม่สบายตัว หรือหงุดหงิดง่าย
ผิวหนังแห้งและคันคล้ายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ หรือเป็นลมพิษ
ภูมิแพ้

สาเหตุของภูมิแพ้อากาศ
ภูมิแพ้อากาศเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูก หู ตา ไซนัส และลำคอ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้เพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศออกจากร่างกาย โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ภูมิแพ้อากาศที่เป็นเฉพาะฤดูกาล (Seasonal Allergic Rhinitis) และภูมิแพ้อากาศที่เป็นตลอดทั้งปี (Perennial Allergic Rhinitis)

ปัจจัยที่อาจกระตุ้นหรือทำให้อาการของโรคดังกล่าวแย่ลง ได้แก่

ควันบุหรี่ สารเคมี ควัน หรือมลพิษในอากาศ
อากาศเย็น ความชื้น หรือลม
สเปรย์แต่งผม หรือน้ำหอมที่มีกลิ่นฉุน
การวินิจฉัยภูมิแพ้อากาศ
แพทย์มักวินิจฉัยผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศจากประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย โดยอาจตรวจเลือดและวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีเพิ่มเติมในบางราย โดยมีตัวอย่างการตรวจวินิจฉัย ดังนี้

1. การวินิจฉัยด้วยการตรวจจมูก
ผู้ป่วยอาจมีรอยย่นในแนวนอนบริเวณกลางจมูกจากการถูจมูกซ้ำ ๆ มีน้ำมูก และผนังกลางจมูกเอียงหรือทะลุ ซึ่งอาจเกิดจากภูมิแพ้อากาศเรื้อรังหรือสาเหตุอื่น ๆ

2. การตรวจหู ตา และคอ
ผู้ป่วยอาจมีเยื่อแก้วหูผิดปกติด้านการหดตัวหรือการยืดหยุ่น มีเยื่อบุตาบวม แดง มีน้ำตามาก มีรอยย่นที่ใต้หนังตาล่าง และรอยคล้ำใต้ตา ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด หรืออาการคัดจมูก

3. การวินิจฉัยภูมิแพ้อากาศในห้องปฏิบัติการ
อาจทดสอบภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนัง และตรวจเลือดวัดปริมาณเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลและอิมมูโนโกลบูลิน อี (Immunoglobulin E) ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในเลือด

การรักษาภูมิแพ้อากาศ
โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคนี้สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ และควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค ตรวจระดับความรุนแรงของอาการ ตรวจโรคที่อาจเกิดร่วมกันอย่างหอบหืด รวมถึงรับยารักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองอันเป็นสาเหตุหลักที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา โดยผู้ป่วยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการฟุ้งกระจายของเกสรดอกไม้โดยเฉพาะผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้ หรืออยู่ให้ห่างจากเขตก่อสร้างหรือบริเวณที่มีฝุ่นสะสมในปริมาณมาก เป็นต้น

2. กำจัดสารก่อภูมิแพ้
การกำจัดสารก่อภูมิแพ้นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของสารก่อภูมิแพ้ ดังนี้
ไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ในฝุ่นและมูลของไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นนั้นมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น มักอาศัยอยู่ตามที่นอน หมอน และฝุ่นละอองที่ฟุ้งอยู่ในอากาศ โดยการกำจัดไรฝุ่นควรใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น นำที่นอน หมอน ผ้าห่ม และตุ๊กตาไปตากแดดจัด อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที เป็นประจำทุกสัปดาห์

3. การใช้ยาบรรเทาภูมิแพ้อากาศ
ยาที่ใช้ในการรักษาภูมิแพ้อากาศมีด้วยกันหลายชนิด เช่น

ยาแก้แพ้อากาศหรือยาต้านฮิสตามีน ยกตัวอย่างเช่น ลอราทาดีน เซทิริซีน เฟ็กโซเฟนาดีน ไดเฟนไฮดรามีน เด็สลอราทาดีน ลีและโวเซทิริซีน เป็นต้น ใช้เพื่อลดการหลั่งสารฮิสตามีนซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ โดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น ๆ

4. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
การฉีดวัคซีนภูมิแพ้เป็นวิธีรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด โดยแพทย์จะฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย หรือให้ผู้ป่วยอมยาที่ผสมสารก่อภูมิแพ้ใต้ลิ้นหลาย ๆ ครั้ง โดยเริ่มในปริมาณที่เจือจางที่สุด แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณยาขึ้นทีละน้อยจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ที่ทุเลาลงหรือหายขาดโดยใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 ปี ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาประเภทนี้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นข้างต้นแล้วไม่ได้ผล และต้องระมัดระวังอาการแพ้รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นด้วย

วิธีป้องกันภูมิแพ้อากาศด้วยตัวยเอง
การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเป็นการป้องกันภูมิแพ้อากาศที่ดีที่สุด

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ ferengifts.com